วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

เตาเผาพื้นบ้านและการคุมไฟ


          เตาเผาพื้นบ้านและการคุมไฟ

ในปัจจุบันนี้การเผาเครื่องปั้นดินเผา ได้มีการพัฒนาเตาเผาเครื่องปั้นดินเผาไปอย่างมาก โดยเฉพาะเตาเผามักใช้ไฟฟ้าหรือแก๊สเป็นสำคัญ ดังนั้นข้อผิดพลาดในการเผา มักจะเกิดขึ้นน้อยที่สุด เพราะการควบคุมไฟเวลาเผาเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ แต่ในอดีตเตาเผามักจะใช้เตาเผาแบบพื้นบ้าน การควบคุมไฟและควบคุมอุณหภูมิในการเผานั้นมีความยากลำบากมาก เพราะในอดีตนั้นไม่มีเครื่องมือที่ใช้วัดอุณหภูมิจึงทำให้การควบคุมไฟและควบคุมอุณหภูมิเป็นไปอย่างลำบากมากและทุลักทุเล ทั้งนี้ก็เพราะอุณหภูมิในการเผาดิบและเคลือบมักสูงต่ำไม่คงที่แน่นอน ซึ่งอาจทำให้ผลิตภัณฑ์เกิดความเสียหายได้ ดังนั้นในการในเผาดิบและเผาเคลือบจึงต้องอาศัยความชำนาญเป็นอย่างมาก ที่จะทำให้ผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาดังกล่าวแทบจะไม่มีการผิดพลาดเลย หรือถ้าผิดพลาดก็น้อยที่สุด

การควบคุมไฟและเตาเผาพื้นบ้าน
          การควบคุมไฟ หมายถึง หน้าที่กำกับดูแลเปลวความร้อนที่เกิดจากการเผาไหม้ ดังนั้นกรรมวิธีในการเผาและการควบคุมไฟของเตาเผาพื้นบ้านจึงมีความยุ่งยากและมีความละเอียดลออมากพอสมควร สำหรับการเผาผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาซึ่งเป็นกรรมวิธีหลังจากการปั้นและตกแต่งแล้ว แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1.            การเผาดินเป็นการเผาครั้งแรก คือ การให้ความร้อนแก่ภาชนะนั้น โดยให้อุณหภูมิความร้อน ตั้งแต่ 400 – 900 ซํ ซึ่งใช้เวลาในการเผาดิบทั้งหมด 8-9 ชั่วโมง ผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นจึงจะถึงจุดสุกตัวพอดี ทิ้งไว้ประมาณ 6-8 ชั่วโมง จึงค่อยเปิดเอาผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาออกจากเตาได้
2.            การเผาเคลือบ หมายถึง การเผาให้น้ำเคลือบที่ชุบบนผลิตภัณฑ์ละลายเป็นเนื้อเดียวกันมีความมันแวววาว บางชนิดเป็นเคลือบด้านผิวเรียบมีความแข็งสามารถต้านทานต่อกรดและด่างได้เป็นอย่างดี การเผาเคลือบจะต้องเผาให้ได้อุณหภูมิตามกำหนดของน้ำเคลือบแต่ละชนิด ไม่เช่นนั้นการเผาจะเกิดการเสียหายได้

การขึ้นรูปแบบใช้พิมพ์กด



6. การขึ้นรูปแบบใช้พิมพ์กด


การขึ้นรูปแบบพิมพ์กด ชนิดใช้มือกดต้องอาศัยพิมพ์ชนิดที่ทำด้วยปูนพลาสเตอร์แบบชิ้นเดียวหรือแบบสองชิ้น ดินที่นำมาใช้ในการกดพิมพ์ นวดเป็นแผ่นและใช้เครื่องมือตัดตามรูปร่างของแบบที่จะพิมพ์ แล้วนำไปกดในพิมพ์ปล่อยทิ้งไว้ให้แห้งก็จะได้แบบพิมพ์ตามต้องการ 




การขึ้นรูปแบบใบมีด







5.            การขึ้นรูปแบบใบมีด

การขึ้นรูปแบบใบมีด เป็นการผลิตแบบมาตรฐานและสามารถผลิตได้จำนวนมาก รวดเร็ว ส่วนใหญ่ได้แก่ จาน ชาม ถ้วย วิธีผลิตอาศัยพิมพ์และอาศัยใบมีดตามลักษณะรูปร่างของผลิตภัณฑ์ กรรมวิธีผลิตอาศัยแป้นหมุนที่มีความเร็วสูง 120 รอบต่อนาที มีแขนสำหรับใส่ใบมีด พิมพ์ที่เป็นแบบทำด้วยปูนพลาสเตอร์ ใบมีดสร้างด้วยเหล็กแข็ง ใช้ขูดดินตามรูปร่างของพิมพ์ วิธีการขึ้นรูปแบบภายนอก เตรียมดินเป็นแผ่นแล้วอัดไปบนแบบพิมพ์ เมื่อเวลาหมุนใบมีดจะทำหน้าที่ขูดไปตามรูปต่างของแบบพิมพ์ วิธีการขึ้นรูปแบบภายใน เตรียมเป็นก้อนกลม แล้วอัดลงไปในแบบพิมพ์ที่เตรียมไว้ใช้ใบมีดกดลงไปในแบบในขณะที่หมุนดินจะถูกอัดตามแบบ



วิดีโอตัวอย่างการขึ้นรูปและขึ้นขอบ


ตัวอย่างการขึ้นรูปแบบแป้นหมุน




ตัวอย่างการขึ้นขอบ


การขึ้นรูปแบบแป้นหมุน



4.            การขึ้นรูปแบบแป้นหมุน
การขึ้นรูปด้วยแป้นหมุน เป็นการขึ้นรูปแบบทรงกลมโดยอาศัยเครื่องมือแป้นหมุน มีทั้งชนิดยืนและนั่ง ความเร็วที่ใช้ 2-3 จังหวะ ความเร็วรอบของแป้นหมุนที่เป็นมาตรฐานประมาณ 80 รอบต่อนาที ดินที่นำมาปั้นต้องเป็นดินชนิดที่มีความเหนียวจึงจะช่วยให้การขึ้นรูปได้ผลดี การขึ้นรูปแบบแป้นหมุนต้องอาศัยการฝึกฝนและทักษะพอสมควร จึงจะสามารถขึ้นรูปได้ดี

หลักวิธีการขึ้นรูปบนแป้นหมุน


1.            การตั้งดินให้ได้ศูนย์ นับว่าสำคัญมากแล้วใช้มือทั้งสองกดและดึงดินขึ้นหลาย ๆ ครั้ง เพื่อให้ดินเกาะกับแป้นหมุน ข้อศอกและแขนจะต้องไม่แกว่ง ความเร็วของแป้นหมุนช่วงนี้จะต้องใช้ความเร็วสูง ใช้น้ำผสมเข้าช่วยในการตั้งศูนย์


2.            เมื่อตั้งดินได้ศูนย์ดีแล้ว ใช้หัวแม่มือกดดินให้ลึกลงไปเป็นรูกลวง แต่อย่าให้ลึกถึงแป้นหมุน


3.            การดึงดินขึ้น เทคนิคและวิธีการตอนนี้สำคัญมาก โดยใช้มือข้างซ้ายและข้าวขวาดึงดินขึ้น ให้ได้ความสูงตามต้องการ ในขณะที่ดึงดินขึ้นต้องให้อยู่ในแนวดิ่งอย่าให้เอียงไปทางใดทางหนึ่ง ความเร็วที่ใช้ระดับปานกลาง


4.            การทำรูปทรงต่าง ๆ ใช้นิ้วมือกดและดันให้ได้รูปทรงตามต้องการหรือจะใช้เครื่องมือที่เตรียมไว้ก็ได้ ตอนปากรูปทรงไม่สม่ำเสมอควรใช้เครื่องมือตัดทิ้งเสียก่อนแล้วจึงค่อยขึ้นรูปใหม่


5.            ขึ้นตกแต่งหรือขั้นสำเร็จ ขึ้นนี้ต้องรอให้ดินที่ปั้นภาชนะหมาด ๆ เสียก่อน แล้วใช้เครื่องมือขูดผิวให้เรียบร้อย ใช้ฟองน้ำลูบให้เรียบอีกครั้ง





-                   การแต่งก้น ควรแต่งบนแป้นหมุนที่มีดินรองรับ ใช้เครื่องมือมีคมแต่งแล้วใช้ฟองน้ำลูบทำให้เรียบร้อยขึ้น
-                   การขึ้นรูปด้วยแป้นหมุนเป็นแบบเหยือกน้ำ ชนิดที่มีหูจับ โดยใช้มือรีดดินและใช้นำเข้าช่วยด้วย จะทำให้เป็นเส้นรูปร่างตามต้องการ ปล่อยตากไว้ รอให้หมาดแล้วนำไปประกอบกับตัวเหยือก


การขึ้นรูปแบบขด


3.            การขึ้นรูปแบบขด

การขึ้นรูปแบบนี้เป็นที่นิยมกันแพร่หลาย สามารถขึ้นรูปตั้งแต่ชิ้นงานขนาดเล็กจนถึงโอ่งน้ำขนาดใหญ่ วิธีการขึ้นรูปในขั้นแรกทุบดินบีบดินให้เป็นแผ่น ใช้เครื่องมืดตัดให้เป็นแผ่นกลมหรือสี่เหลี่ยมตามต้องการ แล้งคลึงดินให้เป็นเส้นกลมยาว มีขนาดเล็กหรือโตตามความเหมาะสมของภาชนะที่ปั้น แล้วนำไปขดบนแผ่นที่เตรียมไว้ โดยใช้น้ำสลิปประสานรอยต่อใช้มือบีบหรือกดดินให้เข้ากันแน่นสนิท ทำแบบนี้ไปเรื่อย ๆ จนสูงพอกับความต้องการ แล้วแต่งผิวให้เรียบแล้วปล่อยให้แห้ง





การขึ้นรูปแบบแผ่น


2.            การขึ้นรูปแบบแผ่น

การขึ้นรูปทรงแบบแผ่น เหมาะสำหรับผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบมีลักษณะเป็นเหลี่ยมหรือรูปทรงแปลก ๆ วิธีทำขั้นแรกใช้เครื่องมือลูกกลิ้งรีดดินให้เป็นแผ่นบนแผ่นปูนพลาสเตอร์หรือแผ่นไม้อัดที่มีผ้าใบหุ้ม แล้วใช้เครื่องมือตัดดินตามรูปแบบที่ต้องการ เวลาที่ผึ่งให้แห้งควรคว่ำไว้บนแผ่นปูนพลาสเตอร์ เพื่อป้องกันการบิดเบี้ยว แต่ถ้าภาชนะมีฝาควรประกบกัน ถ้าแยกออกจากกันแล้ว เมื่อดินหดตัวทำให้บิดเบี้ยวได้














วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การขึ้นรูปแบบอิสระ


การขึ้นรูปแบบต่าง ๆ

          การขึ้นรูปเครื่องปั้นดินเผา นับว่ามีความจำเป็นและสำคัญมาก ผู้ผลิตต้องมีความชำนาญ มีความรู้ความเข้าใจรวมไปถึงเทคนิคต่าง ๆ ของแต่ละแบบแต่ละชนิด รวมไปถึงอุปกรณ์และเครื่องมือต่าง ๆ ที่ช่วยในการผลิต ซึ่งมีอยู่หลายวิธีด้วยกันคือ

1.            การขึ้นรูปแบบอิสระ
การขึ้นรูปแบบอิสระ เป็นแบบที่ง่ายละสะดวกมากวิธีหรือหลักการเบื้องต้นในการขึ้นรูปเครื่องปั้นดินเผาจะเป็นการเปิดโอกาสให้สร้างสรรค์ผลงานตามที่ถนัด โดยอาศัยเครื่องมือเพียงเล็กน้อย ข้อที่ควรระวังความหนาของผลิตภัณฑ์ควรจะมีความหนาใกล้เคียงกัน











เครื่องมือเครื่องใช้ในงานเครื่องปั้นดินเผา3



3.            เครื่องมือตกแต่ง โดยส่วยมากมักนิยมทำด้วยไม้ตลอดทั้งอัน มีลักษณะคล้าย ๆ กับเครื่องมือขูดหิน ซึ่งมีตรงกลางเป็นด้ามจับหัวและท้าย เครื่องมือทำเป็นรูปร่างต่าง ๆ ให้เหมาะสมแก่การตกแต่งดินปั้น เครื่องมือนี้ใช้เมื่อหลังจากการขูดด้วยเครื่องมือขูดได้รูปร่างแล้ว ใช้เครื่องมือนี้แกะเป็นรูปร่างภายนอกและแต่งให้เกิดความสวยงามของงานนั้น ๆ












เครื่องมือเครื่องใช้ในงานเครื่องปั้นดินเผา2


  2.  เครื่องมือที่ใช้ในงานขูดผิว โดยส่วนมากจะมีด้ามอยู่ที่ตรงกลางหัวและท้ายของด้าม ทำด้วยโลหะที่เป็นเส้นตัดงอให้เป็นรูปต่าง ๆ ตามลักษณะของการใช้งาน จะมีไม่ต่ำกว่า 5 อัน เครื่องมือขูดดินใช้สำหรับขึ้นรูปด้วยมือจนเป็นรูปร่างที่เหมาะสมและเพียงพอแล้ว จึงนำเครื่องมือมาตกแต่งให้เรียบจนดูว่าสวยงามตามความต้องการและความเหมาะสม เครื่องมือขูดผิวใช้ช่วยเสริมเค้าโครงรูปร่างให้เหมาะสมและได้สัดส่วน ถูกต้องตามลักษณะของงาน











วันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

เครื่องมือเครื่องใช้ในงานเครื่องปั้นดินเผา1


เครื่องมือเครื่องใช้ในงานเครื่องปั้นดินเผา

เครื่องมือแต่ละชนิดในงานเครื่องปั้นดินเผา
            เครื่องมือมีความจำเป็นมาก เนื่องจากปัจจุบันได้มีเทคโนโลยีสมัยใหม่ได้เข้ามามีบทบาทต่อการพัฒนาเครื่องมือในงานเครื่องปั้นดินเผาพื้นบ้านเป็นอย่างมาก ดังนั้นจึงจำเป็นต้องศึกษาประเภทของการใช้และลักษณะของเครื่องมือในงานเครื่องปั้นดินเผาพื้นบ้านให้คงอยู่
            ชนิดของเครื่องมือในงานเครื่องปั้นดินเผามีอยู่ 3 ชนิด
1.            เครื่องมือที่ใช้ในการตัดสิน
2.            เครื่องมือที่ใช้ในงานขูดผิว
3.            เครื่องมือที่ใช้ในงานตกแต่ง
1.            เครื่องมือที่ใช้ในการตัดดิน โดยส่วนมากแล้วจะมีวัสดุที่เป็นโลหะหรือไม้แล้วนำมาตกแต่งให้มีคมโดยให้มีความเหมาะสมกับการใช้งานหรือจะใช้เส้นลวด เส้นด้าย เครื่องตัดดินนี้จะใช้ตัดดินได้ตามลักษณะที่ต้องการ หรือใช้ตัดก้นภาชนะออกจากแป้นหมุนไฟฟ้าหรือแป้นหมุนด้วยมือ เครื่องมือตัดนี้จะใช้หลังจากขึ้นรูปเครื่องปั้นดินเผา












ดินชนิดต่างๆ


ดินชนิดต่าง ๆ
1.            ดินขาว ( Kaolin or China clay ) ส่วนใหญ่เป็นดินที่เกิดในที่ราบสูง เนื้อดินหยาบ มีความทนไฟสูง นำมาขึ้นรูปโดยตรงยากแก่การทรงตัว และมีความเหนียวน้อย การนำไปใช้ผลิตเครื่องปั้นดินเผาต้องนำไปผสมกับวัตถุดิบชนิดอื่น เป็นดินที่มีการหดตัวน้อย พบในธรรมชาติเป็นดินสีขาวหม่น
2.            ดินขาวเหนียว ( Ball clay ) เป็นดินที่พบในที่ราบต่ำ มีลักษณะตรงข้ามกับดินขาว มีเปอร์เซ็นต์ของเหล็กค่อนข้างสูง สามารถหลอมตัวได้ในอุณหภูมิไม่สูงมากนัก มีความเหนียว เนื้อดินละเอียด เมื่ออยู่ในรูปที่ยังชื้นอยู่ สีมักจะเป็นสีเทา สีดำ ไม่สามารถนำมาขึ้นรูปด้วยตัวเองมันเองได้
3.            ดินทนไฟ ( Fire clay) เป็นดินชนิดที่สามารถทนความร้อนได้สูงถึง 1500 º ซ. มีความเหนียวมากเมื่อเป็นวัตถุดิบ มีสีน้ำตาลอ่อน สีเทา หรือเข้ม นิยมนำไปใช้ทำอิฐทนไฟ เนื้อดินค่อนข้างหยาบ
4.            ดินเซ็กเกอร์เคลย์ ( Sagger clay) เป็นดินที่มีความทนไฟสูง และมีความเหนียวดีเป็นดินที่มีความยืดหยุ่นต่อความร้อนได้ดี หมายถึงดินที่ช่วยลดการแตกร้าวได้ดี สีของดินเมื่อพบในธรรมชาติมักเป็นสีอ่อน สีเทา สีเทาดำ
5.            สโตนแวร์เกลย์ ( Stone ware clay ) เป็นดินที่ค่อนข้างเหนียว สีส่วนใหญ่สีอ่อนๆ เทา เทาแก่ หรือน้ำตาลเข้ม เป็นดินที่พบในที่ราบต่ำ สามารถเผาในอุณหภูมิสูง เป็นดินชนิดที่ไม่ต้องนำไปผสมกับวัตถุดิบชนิดอื่น สามารถขึ้นรูปทรงเองได้เหมาะในการขึ้นรูปด้วยแป้นหมุนอย่างยิ่ง
6.            เอิทเท่นแวร์เคลย์ ( Earthen ware clay ) เป็นดินที่พบโดยทั่วไปในธรรมชาติ ส่วนมากมีเปอร์เซ็นต์ของเหล็กค่อนข้างสูง เมื่อเป็นวัตถุดิบสีน้ำตาลอ่อน สีน้ำตาแก่ และเทาแก่ มีความเหนียวมาก ติดเหนียวแน่น ในการนำไปใช้ส่วนมากนิยมผสมทราย หรือดินเชื้อ มีสารจำพวกด่างมาก
7.            วัตถุดิบ ดินชนิดอื่น ๆ ( Other kind of clay ) ซึ่งมีมากมายหลายชนิด เช่น ดินผิวโลก ซึ่งมีทรายผสมค่อนข้างมาก ความเหนียวน้อย ซึ่งนิยมใช้ทำประเภทอิฐ เช่น
-                   ดินปนทราย ( Flint clay ) นิยมใช้ทำผลิตภัณฑ์ประเภทอิฐทนไฟ มีความแข็งแรงทนทานดี
-                   ดินดาน ( Shale ) เป็นดินที่เกิดจากการทับถมของดินเป็นชั้น ๆ ใต้พื้นดินมีความเหนียวไม่มากนัก
-                   ดินเทอราคอตต้า ( Terra cotta ) หรือบางทีเรียกว่า ดินเหนียวธรรมดาทั่วไป เป็นดินที่จัดอยู่ในประเภทเกรดต่ำ เนื้อหยาบ มีความเหนียวพอสมควร
-                   ดินประเภทที่มีอลูมิน่าสูง ( High-Alumina ) ซึ่งเป็นดินที่เกิดจากแร่บ๊อกไซด์ หรือ ไดอาสปอร์ เป็นดินที่มีแร่อลูมิน่าสูง และมีความทนไฟสูง

วัตถุดิบในการทำเครื่องปั้นดินเผา

วัตถุดิบในการทำเครื่องปั้นดินเผา
            วัตถุดิบที่ใช้ในการทำเครื่องปั้นดินเผาที่เป็นปัจจัยสำคัญ ส่วนใหญ่ได้แก่ ดิน หิน และแร่ธาตุต่างๆ แต่การที่จะคัดเลือกวัตถุดิบเหล่านั้น นับว่าเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญมาก โดยเฉพาะผู้ผลิตต้องมีความเข้าใจและรู้คุณสมบัติ ส่วนประกอบต่างๆ  ความเหนียวของดิน การหดตัวของดิน ตลอดจนสีของดินที่เผาแล้ว เพื่อเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการนำไปใช้ให้ตรงกับวัตถุประสงค์ของผู้ผลิต

          ดิน (Soil)
                   ดินความหมายทางธรณีวิทยา หมายถึง เม็ดแร่และส่วนแตกแยกชิ้นเล็กชิ้นน้อยของหินที่รวมตัวกันอยู่โดยมีการยึดจับตัวกันไม่แน่นนัก กำเนิดของดินมาจากการผุพังของหิน โดยขบวนการต่าง ๆ หินที่เกิดจากการผุพังกลายมาเป็นดิน เรียกว่า วัตถุต้นกำเนิดดิน ซึ่งมาผสมเข้ากับพวกอินทรีวัตถุต่าง ๆ จนกลายเป็นดิน

            ส่วนประกอบของดิน (Soil components)
                   ส่วนประกอบของดินที่สำคัญมี 4 อย่าง คือ
1.            อนินทรีวัตถุ (inorganic matter) ได้แก่ส่วนที่เกิดจากชิ้นเล็กชิ้นน้อยของแร่และหินต่าง ๆ ที่ผุพังและสลายตัวโดยทางเคมี ฟิสิกส์ และชีวเคมี
2.            อินทรีวัตถุ (organic matter) ได้แก่ส่วนที่เกิดจากการเน่าเปื่อยผุพังหรือการสลายตัวของเศษเหลือของพืชและสัตว์ที่ทับถมกันอยู่ในดิน
3.            น้ำ (water) น้ำที่อยู่ในดินนั้นอยู่ในช่องว่างของเนื้อดิน
4.            อากาศ (air) ก๊าซที่มีอยู่มากได้แก่ ไนโตรเจน ออกซิเจน และคาร์บอนไดออกไซด์

ลักษณะเนื้อดิน (Soil texture)
          เนื้อดิน หมายถึง ความหยาบ ความละเอียดของเม็ดดิน ซึ่งขึ้นอยู่กับปริมาณของอนุภาคที่เป็นส่วนประกอบในดินนั้นจำแนกออกได้เป็น 3 ขนาด
1.            ทราย คือ อนุภาคที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 0.05 – 2 มิลลิเมตร
2.            ทรายละเอียด คือ อนุภาคที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.002 – 0.05 มิลลิเมตร
3.            ดินเหนียว คือ อนุภาคที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.002 มิลลิเมตร

ความแตกต่างของดิน
            ดินที่นำมาใช้ในการทำผลิตภัณฑ์ มีข้อแตกต่างกันซึ่งขึ้นอยู่กับการกำเนิดของแหล่งดินมีผลต่อคุณสมบัติต่าง ๆ อย่างมากมาย เช่น สีของดิน ความทนไฟ การหดตัว และความเหนียวของดิน

ประวัติความเป็นมาของเครื่องปั้นดินเผาไทย

ประวัติความเป็นมาของเครื่องปั้นดินเผาไทย

            ยุคหินกลาง เครื่องมือเครื่องใช้ของมนุษย์ที่พบในยุคนี้ ได้แก่ ภาชนะดินเผาซึ่งมีทั้งที่ทำผิวเคลือบและเป็นเงา กับพวกที่มีลายเชือกทาบ เครื่องปั้นดินเผาเหล่านี้ทำเป็นภาชนะต่างๆ เช่น หม้อ จาน ชาม หม้อน้ำ และภาชนะหุงต้มในการปรุงอาหาร
            สมัยหินใหม่ สมัยนี้มนุษย์เริ่มมีวิวัฒนาการทางด้านเครื่องปั้นดินเผา เครื่องปั้นดินเผามักมีรูปแบบ และลวดลายเพิ่มเติมขึ้นกว่าเดิม
            สมัยหินใหม่ (บ้านเก่า) บ้านเก่ามีแหล่งสิ่งสำคัญและพบเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำด้วยหินสกัดหรือหินขัด
            ยุคโลหะ ยุคนี้ยึดถือเอางานเครื่องปั้นดินเผาเป็นงานหัตกรรมดั้งเดิม ส่วนเครื่องปั้นดินเผาที่ได้รับค่านิยมแพร่หลานในวัฒนธรรมคองซานนี้ก็คือ การทำลวดลายที่มีจุดลายเส้นขนาน ลายรูปสามเหลี่ยม ลายก้านขด ลายวงกลมเล็ก ๆ ต่อด้วยลายทแยง ลายถักแบบเปียผม
            ยุคทวารวดี อาณาจักรทวารวดี มีอาณาจักรใหม่อยู่ทางลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและลุ่มแม่น้ำแม่กลอง
                        เครื่องปั้นดินเผาสมัยทวารวดี แบ่งออกเป็น 6 ระยะ
                        ระยะที่ 1 ใช้เหล็กสัมฤทธิ์ทำเครื่องปั้นดินเผาแบบต่าง ๆ รูปลักษณะไม่เหมือนกับเครื่องปั้นดินเผาของยุคโลหะตอนปลายในแหล่งอื่น ๆ
                        ระยะที่ 2 เครื่องปั้นดินเผาในระยะนี้เกือบทั้งหมดเป็นแบบเรียบมีสีแดง ซึ่งแตกต่างกันมากกับเครื่องปั้นดินเผาในระยะที่ 1
                        ระยะที่ 3 เครื่องปั้นดินเผาในระยะนี้แตกต่างออกไป ระยะนี้พบเครื่องมือทำลวดลายเครื่องปั้นดินเผาและยังมีเครื่องปั้นดินเผาแบบอื่น ๆ ที่มีเนื้อแข็งแกร่ง และมีสีมัน บางชิ้นมีสีสดเป็นมัน (สีแดง สีส้ม สีเหลือง สีน้ำตาล)
                        ระยะที่ 4 ยุคนี้ได้พบเครื่องปั้นดินเผาซึ่งมีมากกว่าระยะที่ 3 เครื่องปั้นดินเผาในระยะที่ 4 มีแบบแปลก ๆ อยู่ 2-3 แบบ
                        ระยะที่ 5 พบรูปสิงโตดินเผา รูปปั้นดินเผาขนาดเล็กเป็นรูปปั้นผู้ชายกับลิง ในยุคนี้มีเครื่องปั้นดินเผา 2 แบบ ซึ่งมีความสำคัญเป็นพิเศษกว่าที่อื่น คือ
                        - แบบที่ 1 เครื่องปั้นดินเผา เป็นไหแต่งด้วยลวดลายที่ประทับลงไปในภาชนะเหล่านั้นมีด้วยกันหลายแบบ เช่น ช้าง หงส์ วัว และนักรบกำลังวิ่ง
                        - แบบที่ 2 คือ ไหที่พบปากผายและที่รอบปากมีสีแดง และสีขาว
                        ระยะที่ 6 เครื่องปั้นดินเผาในระยะนี้มีเพียง 2-3แบบเท่านั้น แต่ก็ทำด้วยฝีมือดีมาก ในระยะอื่นอาจจะเผาในกลางแจ้ง แต่เครื่องปั้นดินเผาในระยะนี้ดูเหมือนจะเผาในเตาที่แท้จริง ถึงแม้จะไม่ได้เผาเคลือบก็เผาอย่างสม่ำเสมอและแข็งมาก
            สมัยศรีวิชัย อาณาจักรศรีวิชัยเป็นอาณาจักรที่รุ่งเรือง ในสมัยนี้มีหลักฐานทางเครื่องปั้นดินเผาปรากฏอยู่บ้างที่บริเวณบ้านสนามบิน
            สมัยลพบุรี ในสมัยนั้นยังได้ค้นพบดินเผามีเคลือบสีน้ำตาลที่เรียกว่าไทยขอม ภาชนะดินเผาเหล่านี้เป็นรูปคนหรือสัตว์ก็มี สันนิษฐานว่าปั้นและเผาในประเทศไทยแล้วส่งไปยังอาณาจักรขอม ได้ค้นพบเตาเครื่องเคลือบดินเผามีสีน้ำตาล และน้ำเงินอ่อนคล้ายสังคโลกสุโขทัย
            สมัยเชียงแสน ในยุคนี้การทำเครื่องปั้นดินเผาของไทยสูงมากสามารถเคลือบได้หลายชนิด
            สมัยสุโขทัย มีการทำเครื่องปั้นดินเผาไฟสูงเลียนแบบจีนเป็นสินค้าส่งออก อีกอย่างหนึ่งเรียกว่า สังคโลก การผลิตเป็นการทำงานแบบอุตสาหกรรม สีของเครื่องเคลือบมักเป็นสีเขียวไข่กามีสีน้ำตาลบ้างประปราย อีกทั้งยังพบเตาเผาถึง 49 เตา ซึ่งบ่งชี้ได้ว่าในสมัยสุโขทัยได้ผลิตเครื่องปั้นดินเผาเป็นอุตสาหกรรม