วันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ประวัติความเป็นมาของเครื่องปั้นดินเผาไทย

ประวัติความเป็นมาของเครื่องปั้นดินเผาไทย

            ยุคหินกลาง เครื่องมือเครื่องใช้ของมนุษย์ที่พบในยุคนี้ ได้แก่ ภาชนะดินเผาซึ่งมีทั้งที่ทำผิวเคลือบและเป็นเงา กับพวกที่มีลายเชือกทาบ เครื่องปั้นดินเผาเหล่านี้ทำเป็นภาชนะต่างๆ เช่น หม้อ จาน ชาม หม้อน้ำ และภาชนะหุงต้มในการปรุงอาหาร
            สมัยหินใหม่ สมัยนี้มนุษย์เริ่มมีวิวัฒนาการทางด้านเครื่องปั้นดินเผา เครื่องปั้นดินเผามักมีรูปแบบ และลวดลายเพิ่มเติมขึ้นกว่าเดิม
            สมัยหินใหม่ (บ้านเก่า) บ้านเก่ามีแหล่งสิ่งสำคัญและพบเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำด้วยหินสกัดหรือหินขัด
            ยุคโลหะ ยุคนี้ยึดถือเอางานเครื่องปั้นดินเผาเป็นงานหัตกรรมดั้งเดิม ส่วนเครื่องปั้นดินเผาที่ได้รับค่านิยมแพร่หลานในวัฒนธรรมคองซานนี้ก็คือ การทำลวดลายที่มีจุดลายเส้นขนาน ลายรูปสามเหลี่ยม ลายก้านขด ลายวงกลมเล็ก ๆ ต่อด้วยลายทแยง ลายถักแบบเปียผม
            ยุคทวารวดี อาณาจักรทวารวดี มีอาณาจักรใหม่อยู่ทางลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและลุ่มแม่น้ำแม่กลอง
                        เครื่องปั้นดินเผาสมัยทวารวดี แบ่งออกเป็น 6 ระยะ
                        ระยะที่ 1 ใช้เหล็กสัมฤทธิ์ทำเครื่องปั้นดินเผาแบบต่าง ๆ รูปลักษณะไม่เหมือนกับเครื่องปั้นดินเผาของยุคโลหะตอนปลายในแหล่งอื่น ๆ
                        ระยะที่ 2 เครื่องปั้นดินเผาในระยะนี้เกือบทั้งหมดเป็นแบบเรียบมีสีแดง ซึ่งแตกต่างกันมากกับเครื่องปั้นดินเผาในระยะที่ 1
                        ระยะที่ 3 เครื่องปั้นดินเผาในระยะนี้แตกต่างออกไป ระยะนี้พบเครื่องมือทำลวดลายเครื่องปั้นดินเผาและยังมีเครื่องปั้นดินเผาแบบอื่น ๆ ที่มีเนื้อแข็งแกร่ง และมีสีมัน บางชิ้นมีสีสดเป็นมัน (สีแดง สีส้ม สีเหลือง สีน้ำตาล)
                        ระยะที่ 4 ยุคนี้ได้พบเครื่องปั้นดินเผาซึ่งมีมากกว่าระยะที่ 3 เครื่องปั้นดินเผาในระยะที่ 4 มีแบบแปลก ๆ อยู่ 2-3 แบบ
                        ระยะที่ 5 พบรูปสิงโตดินเผา รูปปั้นดินเผาขนาดเล็กเป็นรูปปั้นผู้ชายกับลิง ในยุคนี้มีเครื่องปั้นดินเผา 2 แบบ ซึ่งมีความสำคัญเป็นพิเศษกว่าที่อื่น คือ
                        - แบบที่ 1 เครื่องปั้นดินเผา เป็นไหแต่งด้วยลวดลายที่ประทับลงไปในภาชนะเหล่านั้นมีด้วยกันหลายแบบ เช่น ช้าง หงส์ วัว และนักรบกำลังวิ่ง
                        - แบบที่ 2 คือ ไหที่พบปากผายและที่รอบปากมีสีแดง และสีขาว
                        ระยะที่ 6 เครื่องปั้นดินเผาในระยะนี้มีเพียง 2-3แบบเท่านั้น แต่ก็ทำด้วยฝีมือดีมาก ในระยะอื่นอาจจะเผาในกลางแจ้ง แต่เครื่องปั้นดินเผาในระยะนี้ดูเหมือนจะเผาในเตาที่แท้จริง ถึงแม้จะไม่ได้เผาเคลือบก็เผาอย่างสม่ำเสมอและแข็งมาก
            สมัยศรีวิชัย อาณาจักรศรีวิชัยเป็นอาณาจักรที่รุ่งเรือง ในสมัยนี้มีหลักฐานทางเครื่องปั้นดินเผาปรากฏอยู่บ้างที่บริเวณบ้านสนามบิน
            สมัยลพบุรี ในสมัยนั้นยังได้ค้นพบดินเผามีเคลือบสีน้ำตาลที่เรียกว่าไทยขอม ภาชนะดินเผาเหล่านี้เป็นรูปคนหรือสัตว์ก็มี สันนิษฐานว่าปั้นและเผาในประเทศไทยแล้วส่งไปยังอาณาจักรขอม ได้ค้นพบเตาเครื่องเคลือบดินเผามีสีน้ำตาล และน้ำเงินอ่อนคล้ายสังคโลกสุโขทัย
            สมัยเชียงแสน ในยุคนี้การทำเครื่องปั้นดินเผาของไทยสูงมากสามารถเคลือบได้หลายชนิด
            สมัยสุโขทัย มีการทำเครื่องปั้นดินเผาไฟสูงเลียนแบบจีนเป็นสินค้าส่งออก อีกอย่างหนึ่งเรียกว่า สังคโลก การผลิตเป็นการทำงานแบบอุตสาหกรรม สีของเครื่องเคลือบมักเป็นสีเขียวไข่กามีสีน้ำตาลบ้างประปราย อีกทั้งยังพบเตาเผาถึง 49 เตา ซึ่งบ่งชี้ได้ว่าในสมัยสุโขทัยได้ผลิตเครื่องปั้นดินเผาเป็นอุตสาหกรรม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น